
การเลือกวัตถุดิบสำหรับทำอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีเป็นเรื่องยากใช่ไหม ? โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 1 ขวบ มักจะมีการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และการกิน ๆ เล่น ๆ จะเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ มาเรียนรู้การแยกแยะอาหารที่มีความสมดุลทางโภชนาการกันเถอะ
การเลือกวัตถุดิบสำหรับทำอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีเป็นเรื่องยากใช่ไหม ? โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 1 ขวบ มักจะมีการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และการกิน ๆ เล่น ๆ จะเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ มาเรียนรู้การแยกแยะอาหารที่มีความสมดุลทางโภชนาการกันเถอะ
“ธาตุเหล็ก” คือแร่ธาตุที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำงานของสมอง เป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับวัยเด็กเล็ก อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะได้รับ “ธาตุเหล็ก” อย่างครบถ้วนจากอาหารและนม ตัวอย่างเช่น ผักโขมซึ่งว่ากันว่าอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก หากต้องการได้รับปริมาณธาตุเหล็กที่จำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวันตามคำแนะนำของ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (*1) จะต้องรับประทานผักโขมดิบในปริมาณ 410 กรัม (*2) สำหรับนม ต้องดื่มถึงวันละ 7 ลิตร (*2) ! ซึ่งที่จริงแล้วในนมวัวมีธาตุเหล็กน้อยมาก หรือแม้แต่เนื้อหมูที่มี “ธาตุเหล็ก” ในปริมาณค่อนข้างมากก็ต้องรับประทานเนื้อหมูสุกถึง 455 กรัม (*3)
หมายเหตุ
*1 ปริมาณที่แนะนำของ “ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย” (ฉบับปี พ.ศ. 2563)” (อายุ 12 ถึง 36 เดือน)
*2 ตารางเเสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย (ฉบับปี พ.ศ.2561)
*3 โปรแกรม INMUCAL-Nutrients
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (ปี พ.ศ.2556)
อันที่จริงแล้วข้อ A แทบไม่มีธาตุเหล็ก
นอกจากธาตุเหล็กแล้ว แคลเซียมยังเป็นแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต มาดูกันว่าธาตุเหล็กและแคลเซียมทำงานอย่างไร ?
เพียงแค่ผสมสตรอว์เบอร์รี่บดกับ “EZcube” ! ได้สตรอว์เบอร์รี่ปั่นที่อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการพร้อมรับประทาน !