การแสดงออกโดยการชี้นิ้ว
เด็กในช่วงวัยนี้เมื่อพบสิ่งที่ตัวเองสนใจ จะพยายามถ่ายทอดต่อแม่โดยการชี้นิ้วไปที่สิ่งนั้น หากเด็กยังไม่สามารถพูดเป็นคำพูดได้
ให้แม่พูดแทนว่า “เครื่องบินกำลังบินนะ” เป็นต้น เด็กจะป้อนคำศัพท์ใหม่เข้าในความจำของตนเองโดยการฟังคำพูดของแม่ และด้วยประสบการณ์ซ้ำ ๆ แบบนี้ เด็กจะค่อย ๆ สร้างคำพูดของตัวเองขึ้นมา
การพูดสนทนาด้วยคำพูด 2 คำ
ช่วงก่อนวัยนี้ การพูด “มัมมะ” “ไม่ใช่ไม่ใช่” และ “โฮ่ง-โฮ่ง” เป็นต้น ถือว่าเป็นคำพูด 1 คำ แต่ในวัยนี้ควรเริ่มใช้คำพูด 2 คำ เช่น “บู่บู มาแล้ว ! ” และ “โฮ่ง-โฮ่ง ตัวใหญ่นะ” เป็นต้น ตามสถานการณ์
แม่บางคนอาจรู้สึกมีความกังวลว่าจะพูดออกมาไม่ค่อยได้ แต่การพัฒนาการทางภาษานั้นแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน คำพูดจะถูกใส่ลงไปใน “ถ้วยคำ (หรือหน่วยความจำ)” เมื่อ “ถ้วยคำ” ของเด็กเต็ม คำต่าง ๆ ก็จะล้นออกมาตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับการเทน้ำใส่ถ้วย ดังนั้นขอให้พูดด้วยคำต่าง ๆ กับเด็กอยู่เสมอ
สามารถทำตามที่บอกได้
เด็กจะสามารถเข้าใจสิ่งที่ได้รับฟังและทำตามได้อย่างถูกต้อง เช่น “น้อง○○ หยิบ○○ให้หน่อย” และ “ทิ้งสิ่งนี้ลงถังขยะได้ไหม” เป็นต้น นอกจากนี้ การแปรงฟัน ล้างมือ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นสิ่งแม่ทำให้ทั้งหมด ก็สามารถค่อย ๆ ทำได้เอง พ่อแม่ควรสนับสนุนความต้องการและพฤติกรรมที่อยากทำเองของเด็ก และส่งเสริมนิสัยการใช้ชีวิตในช่วงวัยนี้ให้เหมาะสม ควรพูดให้ความชื่นชมให้มากเมื่อเด็กสามารถทำตามที่บอกได้หรือสามารถแปรงฟันด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
ความรู้สึกในความเชื่อมั่นในตัวเองหรืออีโก้
เมื่ออายุเกิน 1 ขวบครึ่ง อาจจะเกิดอาการ ไม่เอาไม่เอาขึ้นมา ซึ่งเป็นสัญญาณของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดย
เด็กแสดงออกด้วยความรู้สึกว่า “ฉันอยากจะทำอะไรด้วยตัวเอง ! ” และ “ฉันต้องการท้าทาย ! ”
ก่อนอื่น ขอให้ยอมรับความรู้สึกเสียใจของเด็กกันก่อน เมื่อเด็กรู้ว่าความรู้สึกของตนเองได้รับการเข้าใจ เด็กจะมีความกล้าอีกครั้งและมี
ความรู้สึกที่จะเผชิญกับความท้าทายต่อไป แน่นอนว่าจะต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตาม ขอให้
ยอมรับและสนับสนุน “ความกระตือรือร้น” ของเด็กอย่างเหมาะสม
เมื่อเด็กอยากทำด้วยตัวเอง
การที่ผู้ใหญ่จะช่วยในการเปลี่ยนเสื้อผ้า กิน ใส่หรือถอดรองเท้า ฯลฯ จะทำได้ง่ายกว่า เร็วกว่าและไม่เกิดความสกปรกเลอะเทอะโดย
รอบ แต่ควรให้ความสำคัญกับความรู้สึกของเด็กที่ว่า “จะทำด้วยตัวเอง ! ” และให้การสนับสนุนความท้าทายของเด็กกันเถอะ
“จะทำด้วยตัวเอง” เป็นการแสดงออกถึงจิตใจที่พึ่งพาตัวเอง ความประทับใจและประสบการณ์ของเด็กที่รู้สึกว่า “ฉันทำได้”ในชีวิตประจำวันเป็นพื้นฐานในการเลี้ยงดูเด็กให้มีจิตใจที่พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามหากเห็นว่าเด็กพยายามสัมผัสถึงสิ่งอันตรายหรือทำสิ่งที่เป็นอันตรายด้วยตัวเอง ให้ทำการหยุดทันทีและอธิบายเหตุผลอย่างชัดเจนว่าทำไมถึงทำไม่ได้ นอกจากนี้เด็กช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่อยากช่วยเหลือคุณแม่ อาจต้องเสียเวลาบ้าง แต่ควรลองให้เด็กทำการช่วยเหลือในสิ่งต่าง ๆ
เฝ้าดูการเติบโต
การเจริญเติบโตยังแสดงออกได้ในการเล่น แม้ว่าจะเป็นการเล่นเป็นแม่บ้านที่เหมือน ๆ กัน เช่น การทำอาหาร แต่จะมีเรื่องราวหรือบทละครเพิ่มขึ้นและงานที่ซับซ้อนขึ้น ขอให้ทำการค้นหาการเจริญเติบโตของเด็กในการเล่นกันเถอะ แม้ว่าจะไม่เก่งในตอนแรก แต่จะมีการปรับปรุงดีขึ้นทีละน้อยจากการทำซ้ำ ๆ เมื่อเห็นเด็กทำผิดพลาดบ่อย ๆ ผู้ใหญ่มักจะเข้าไปแทรก ดังนั้นขอเพียงแต่เฝ้าดูแลเด็ก ๆ อย่างอ่อนโยน ถ้าเด็กทำคนเดียวไม่ได้และขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่ ค่อยเข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม หรือบางกรณีก็สอนวิธีทำให้แก่เด็กอีกครั้งหนึ่ง ผู้ใหญ่เมื่อเห็นเด็กทำได้แล้วครั้งหนึ่ง มักคิดว่าจะทำได้อีก แต่มีหลายกรณีที่แม้ว่าเด็กจะทำได้ครั้งหนึ่งแล้วตาม ในครั้งต่อไปอาจจะไม่สามารถทำได้อีก การทำซ้ำไปมาของ “การทำได้” และ “การทำไม่ได้” จะทำให้โอกาสของ “การทำได้” ค่อย ๆ สูงขึ้น ไม่ควรเร่งรีบมากเกินไป แต่ควรค่อย ๆ เพิ่ม “การทำได้” ให้มากขึ้น
การเล่นเลียนแบบ
ในชีวิตประจำวันทุกวันเด็กจะมองเห็นสิ่งที่แม่ทำและมีการพัฒนาจินตนาการของเด็กขึ้นมาก จึงอยากเล่น “การเล่นเลียนแบบ” เหมือนกับการเล่นเป็นแม่บ้าน การเลียนแบบเป็นแม่ เล่นเป็นร้านค้า เล่นเป็นรถไฟ และอื่น ๆ เป็นต้น ขอให้พ่อแม่ลูกสนุกร่วมกันในการเล่น “การเล่นเลียนแบบ” หรือ “การเล่นเป็นการแสดง” โดยไม่คำนึงถึงเพศ เพราะเด็กที่คุ้นเคยกับแม่ก็มักจะมี ความสนใจในการทำอาหาร ทำความสะอาด และซักผ้าที่แม่ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน
การเล่นโดยจินตนาการ
จะมี “การเล่นโดยจินตนาการ” เพิ่มขึ้น เช่น การใช้บล็อกไม้หรือแท่งสี่เหลี่ยมสมมุติให้เป็นรถยนต์วิ่ง หรือการใช้ใบไม้ทำเป็นจานสำหรับการเล่นทำอาหาร เด็กๆ ถือว่าเป็นอัจฉริยะในการเล่น ดังนั้นควรสนับสนุนการเล่นโดยการใช้สิ่งของทั่วไป เช่น บล็อกไม้ หรือใช้สิ่งของธรรมชาติ เช่น ใบไม้และก้อนกรวดมาเล่นให้หลากหลาย นอกจากนี้ ขอแนะนำให้เล่นโดยจินตนาการ เช่น ในระหว่างการเดินเล่นแล้วมองดูเมฆบนท้องฟ้า แล้วพูดคุยว่า “มีช้างอยู่ตรงนั้น!” เป็นต้น ถ้าแม่ยกตัวอย่างในการเล่นโดยจินตนาการมากๆ จากนั้นเมื่อเด็กเห็นอะไร ก็จะเริ่มจินตนาการตามที่ตัวเองคิด
หนังสือภาพ
ก่อนถึงวัยนี้เด็กที่ไม่เคยสนใจหนังสือภาพ จะค่อย ๆ เข้าใจคำศัพท์และเริ่มสนใจหนังสือภาพมากขึ้น ในการเลือกหนังสือภาพ ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงอายุเป้าหมายของเด็กที่ระบุไว้ในหนังสือภาพมากเกินไป ขอแนะนำหนังสือภาพที่เป็นเรื่องราวหรือภาพที่เด็กชอบ เช่น ยานพาหนะและสัตว์ หรือหนังสือภาพที่มีคำที่ไพเราะเป็นจังหวะ เป็นต้น และนอกจากการอ่านตามข้อความที่เขียนในหนังสือภาพแล้ว ให้ลองเพิ่มเติมวิธีการ เทคนิค ที่เพิ่มความสนุกสนานกับหนังสือภาพโดยดูภาพและพูดคุยกัน และเล่าให้เรื่องราวง่ายขึ้นพร้อมกับสังเกตปฏิกริยาหรือการมีส่วนร่วมของเด็ก การที่คุณแม่อ่านหนังสือภาพให้เด็กฟังเป็นการเสริมสร้างจิตใจของเด็ก การที่เด็กอยู่ข้างๆ แม่ พร้อมกับฟังเสียงของแม่ที่ตัวเองรัก เด็กจะรู้สึกมีความสุขที่ได้ใช้เวลาร่วมกับแม่
การเล่นวาดรูป
เป็นช่วงวัยที่เด็กเริ่มสนใจสิ่งต่าง ๆ และเคลื่อนไหวมือได้อย่างคล่องแคล่ว และโลกของการเล่นจะขยายตัวอย่างมาก “การเล่นวาดรูป”สามารถใช้ปากกาที่มีในบ้านวาดรูปก็ได้ หรือสีเทียนหรือปากกาเมจิที่มีขนาดใหญ่เหมาะมือและถือได้ง่ายสำหรับเด็ก เด็กจะสนุกสนานและพอใจอย่างมากกับ “การวาด” และ “การทำให้เกิดเส้น” หากเด็กมีความต้องการที่จะวาด ขอให้เด็กได้วาดมากเท่าที่เด็กต้องการโดยไม่ต้องจำกัดจำนวนแผ่น เด็กบางคนอาจวาดครั้งละหลายสิบแผ่น ดังนั้นจึงควรเตรียมกระดาษไว้ให้มากพอ นอกจากนี้เด็กยังชอบการติดสติ๊กเกอร์และลอกออก การเล่นโดยการใช้มือจะเป็นการเพิ่มสมาธิของเด็ก ขอให้เด็กมีโอกาสในการเล่นในหลายรูปแบบ