การพัฒนาการด้านภาษา
การพูดที่เคยตะกุกตะกักจะสามารถพูดได้อย่างราบรื่นมากขึ้น เป็นวัยที่สามารถตอบเองได้ เช่นเมื่อถูกถามชื่อ จะสามารถพูดสนทนาสั้น ๆ ได้ “ไปเดินเล่นกันไหม ?” “อือ เดินเลย ไปสิ !” เป็นต้น ดังนั้นแทนที่ผู้ใหญ่จะพูดเพียงฝ่ายเดียว
ควรให้โอกาสเด็กได้พูดมาก ๆ แม้ว่าเนื้อหาของบทสนทนาจะ ยาวสักหน่อย แต่เด็กจะสามารถฟังจนจบได้ ดังนั้นไม่ควรใช้แค่คำสั้น ๆ เช่น “ไม่ !” และ “หยุด !” ควรพยายามอธิบายเหตุผลให้ชัดเจน เช่น “วันนี้เย็นแล้ว กลับบ้านกันเถอะ” เป็นต้น เด็กในวัยนี้ได้รับฟังการพูดคุยจากแม่และคนอื่น ๆ รอบตัวมาอย่างมากมาย จึงเป็นวัยที่คำพูดมากมายที่ถูกเก็บไว้ใน “ถัง (ความจำ)” ล้นออกมา
เพียงแค่การตอบกลับโดยการเพิ่มคำคุณศัพท์หรือคำขยาย เช่น “สีแดงสดเลยนะ” และ “ใหญ่มากนะ” จะทำให้โลกแห่งคำศัพท์ขยายกว้างออกไปอย่างมาก เป็นช่วงวัยที่เกิดคำที่น่าสนใจขึ้น ดังนั้นจึงแนะนำให้เขียนบันทึกไว้เป็นความทรงจำ
“ทำไม ?” “นี่อะไร ?”
เด็กเริ่มสนใจเรื่องต่าง ๆ และถามพ่อแม่ว่า “ทำไม ?” และ “นี่อะไร ?” บ่อยครั้ง
โดยการถาม เด็ก ๆ จะขยายโลกแห่งคำศัพท์และความรู้ให้กว้างขึ้นเป็นอย่างมาก ดังนั้น ขอให้พยายามตอบคำถามของเด็กที่ถามว่า
“อะไร ?” เท่าที่ตอบได้อย่างอ่อนโยน เมื่อเห็นเค้ก แล้วเด็กถามว่า “นี่อะไร ?” แทนที่จะพูดสั้น ๆ เพียงคำว่า “มันคือเค้ก” ควรที่จะตอบว่า
“เป็นอาหารที่มีรสหวานและอร่อยเรียกว่าเค้ก ยังมีสตรอเบอร์รี่แดงอยู่ข้างบน คุณยายเป็นคนให้มา” เป็นต้น การเพิ่มคำพูดจะขยายโลก
ของคำให้กว้างขึ้น และคำพูดที่เพิ่มมานั้นก็จะนำไปสู่ ”อะไร ?” และ “ทำไม ?” รอบใหม่อีก
หากคำถามของเด็กมีอย่างต่อเนื่องเกินไป เราสามารถถามเด็กกลับว่า “มันเป็นอย่างไรน้า ? น้อง○○ล่ะ คิดอย่างไร ?” และควรให้เวลา
เด็กได้คิด
การพัฒนาการด้านความจำและความคิด
เด็กในช่วงวัยนี้จะมีอาการดีใจ ร้องไห้ และอาการอื่น ๆ ตามความทรงจำของตนเอง จะจำทางไปโรงพยาบาลที่เคยถูกฉีดยามาก่อน และทันทีที่มาถึงมุมถนน ก็ร้องไห้ออกมาทันทีเหมือนถูกจุดไฟ และทันทีที่แม่หยิบกระเป๋าสะพายที่ใช้เป็นประจำเมื่อออกจากบ้าน เด็กจะรู้ทันทีว่า “โอ้ ! แม่จะออกไปแล้ว” พร้อมกับวิ่งไปที่ประตูหน้าบ้าน
เหตุการณ์ที่สนุกและน่ากลัวเป็นพิเศษจะมีความทรงจำเป็นอย่างดีและฝังลึก นอกจากนี้ ยังเป็นวัยที่มีความสามารถในการคิดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
เมื่อพูดกับเด็ก ไม่จำเป็นต้องบังคับให้เด็กแก้ไขเหตุการณ์ก่อน “เมื่อวานนี้” ว่าเป็น “นั่นเป็น [เมื่อวานซืน] นะ” เพียงแต่ในระหว่างการสนทนา ให้ใช้คำพูดที่แสดงเวลา เช่น “เมื่อวานนี้” “เมื่อวานซืน” “พรุ่งนี้” “มะรืนนี้” เป็นต้น เด็กจะเข้าใจและรับรู้เวลาและคำศัพท์เหล่านั้นอย่างเป็นธรรมชาติ
การรู้จักตัวเลข
เด็กเริ่มจะรู้จักตัวเลขได้ทีละเล็กทีละน้อย แม้ว่าจะยังไม่รู้จักตัวเลขจำนวนมากได้อย่างถูกต้อง
แต่ก็สามารถแยกแยะจำนวน 1 ชิ้น 2 ชิ้น 3 ชิ้น และ 4 ชิ้นได้ การรู้จักตัวเลขไม่ควรที่จะบังคับสอน
แต่ควรให้จดจำตัวเลขโดยประสบการณ์ผ่านการเล่นและการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ
การสอนตัวเลขแก่เด็กโดยการเล่นด้วยกัน เช่น ในระหว่างการเล่นเป็นแม่บ้านหรือการเล่นเลียนแบบเป็นร้านค้า
หรือในระหว่างการรับประทานอาหาร แล้วพูดสนทนากัน เช่น “ขอส้ม 2 ลูกหน่อย” และ “มีสตรอเบอร์รี่กี่ลูก ?” เป็นต้น
เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อแม่พูดว่า “ขอส้ม 2 ลูกหน่อย” เด็กจะสามารถเข้าใจความหมายส้ม 2 ลูกอย่างถูกต้องและยื่นส้ม
2 ลูกให้กับแม่
การจดจำสีและความละเอียดลออ
ถึงแม้มีความแตกต่างกันในแต่ละคน แต่ดูเหมือนว่าเด็กหลายคนชอบสีที่สว่างสดใส เช่น สีแดงและสีเหลือง
เด็กจะสามารถเข้าใจความแตกต่างของสีได้ เราขอแนะนำให้ใช้บล็อกไม้หรือลูกบอลในการ “เล่นแยกสี”
นอกจากนี้ ในช่วงวัยนี้มักจะมีความละเอียดลออใน “สีที่ชอบ” ลองสังเกตว่าสีอะไรที่เด็กชอบเล่น
เด็กจะมีความสุขมากหากได้รับสิ่งของในสีที่ตนชอบ เช่น ของเล่น เสื้อผ้า เป็นต้น
การสนับสนุน “ฉันทำได้แล้ว !”
เด็กจะสามารถสวมใส่รองเท้า เสื้อเชิ้ต และเสื้อแขนยาวได้ด้วยตัวเอง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับผู้ใหญ่ แต่มันสำคัญมาก
สำหรับเด็กที่จะสะสม “ความรู้สึกถึงความสำเร็จ” ของ “ฉันทำได้แล้ว !”
และ “ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ” เล็ก ๆ นี้ จะนำไปสู่ความมั่นใจและความพยายามในการท้าทายสิ่งต่าง ๆ เมื่อเด็กเติบโตขึ้นในอนาคต มาเพิ่มระดับความยากขึ้นทีละน้อย พร้อมกับสังเกตการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในชีวิตประจำวัน
เมื่อเด็กทำได้ ก็ให้พูดชมเชย “ทำได้แล้วนะ !” ให้มาก
สอนการอุจจาระและปัสสาวะ
เมื่อถึงวัยนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อต้องการปัสสาวะหรืออุจจาระ แม้แต่เด็กที่เคยยืนบิดไปมาที่มุมห้อง ก็จะค่อย ๆ
พูดออกมาเองว่า “อึ !” “ฉี่ ออกแล้ว !” อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีในการแสดงออกของเด็ก ๆ
แม้ว่าจะรู้ว่าอุจจาระได้ออกมาที่ผ้าอ้อมแล้วก็ตาม เด็กบางคนก็จงใจพูดตรงกันข้ามโดยพูดว่า “ยังไม่ออก” หรือ
“ไม่ใช่”
เด็กบางคนสามารถบอกก่อนที่พวกเขาจะอุจจาระและปัสสาวะ แต่จะมีความแตกต่างกันมากในแต่ละคน
ดังนั้นอย่าฝืนจนเกินไปและพยายามให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน
นอกจากนี้ หากเด็สามารถจังหวะชีวิตเป็นกิจวัตรได้ในช่วงวัยนี้ ต่อไปการเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลจะง่ายมาก ก่อนการฝึกเข้าห้องน้ำ ขอให้ปรับจังหวะชีวิตให้เป็นกิจวัตรกันเถอะ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ / ความแข็งแรงของร่างกาย
เป็นช่วงวัยที่กล้ามเนื้อและร่างกายแข็งแรงขึ้นมาก และการเคลื่อนไหวก็กระฉับกระเฉงขึ้น เป็นวัยที่มีความสนใจในการเล่นโดยใช้
ร่างกายเคลื่อนไหวหรือแบบไดนามิก ดังนั้นเมื่อได้ออกไปที่สวนสาธารณะกับพ่อ ให้พ่อลูกได้ใช้ร่างกายในการเล่นสนุกร่วมกันอย่างเต็ม
ที่ เด็กจะมีความสุขที่ได้วิ่ง และบางครั้งก็กระโดดออกมาโดยไม่ระมัดระวัง ดังนั้นผู้ใหญ่จำเป็นต้องระวังโดยการจับมือ โดยเฉพาะบริเวณ
ทางเข้าออก ถนน และมุมต่าง ๆ ของสวนสาธารณะ เป็นต้น
การเล่นกองทรายหรือแซนด์บ็อกซ์
การเล่นกองทรายเป็นการเล่นที่เด็ก ๆ ชื่นชอบมาก สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับความรู้สึกของทราย เช่น ทรายแห้ง ทรายที่ชื้นเล็ก
น้อย และทรายเหลวหลังจากเทผสมด้วยน้ำ เป็นต้น การเอาทรายใส่ลงไปและอัดให้แน่นในภาชนะเปล่ารูปร่างพุดดิ้งและแม่พิมพ์รูปสัตว์
ต่าง ๆ หรือการทำเป็นภูเขาหรือเขื่อนแล้วเทน้ำเล่น
พออายุเกิน 2 ปี เป็นวัยที่ใช้มือได้คล่องแคล่วมาก สามารถทำและปั้นเป็นรูปต่าง ๆ ได้มากขึ้น ด้วยตัวเอง และจะมีวิธีการหรือไอเดียต่าง ๆ ตามจินตนาการ
การวาดภาพ
ก่อนหน้านี้ เด็กจะเคยวาดภาพแบบ “การวาดแบบคร่าว ๆ ” เป็นส่วนใหญ่ แต่ถึงวัยนี้ เด็กสามารถวาดเส้นเดียวหรือวงกลม (○)ได้
แม้ว่าจะพูดว่าวงกลม แต่ภาพที่ได้อาจออกมาในรูปร่างต่าง ๆ เช่น เหมือนข้าวปั้นโอนิกิริ หรือบิด ๆ เบี้ยว ๆ แต่เด็กจะตระหนักถึงจุดเริ่มต้น
และจุดสิ้นสุดของเส้นและสามารถทำให้มันบรรจบกันได้
นี่เป็นสัญญาณของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เมื่อสิ่งที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเส้นถูกวาดมาบรรจบกันบนกระดาษ
พื้นหลังและวงกลมนั้นจะกลายเป็นอีกโลกหนึ่ง และจะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมายต่าง ๆ เช่น เด็กอาจพูดถึง ○ ที่ตัวเองวาดนั้นว่า “นี่คือ
แม่ และนั่นคือหมา ... “ ซึ่งก็คือ ○ นั้นได้กลายเป็นคนหรือสัตว์ไปแล้ว และยังมีเด็กจำนวนมากที่พูดคุยกันอย่างมีความสุขโดยใช้วงกลม
ที่ตัวเองวาดในการจินตนาการ ในกรณีเช่นนี้ ขอให้ฟังการพูดของเด็กพร้อมกับดูภาพดังกล่าวอย่างอ่อนโยน
เด็กบางคนในวัยนี้เมื่อมีสมาธิอาจวาดภาพได้หลายสิบภาพต่อวัน ดังนั้นขอให้จัดเตรียมอุปกรณ์การวาดภาพ เช่นกระดาษ ปากกาเมจิก
และสีเทียนให้พร้อม เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถวาดได้อย่างอิสระ
ตัดและติดแปะ
ในปัจจุบันนี้ กล่าวกันว่าการดำเนินชีวิตมีความสะดวกสบายขึ้น โอกาสที่จะขยับปลายนิ้วก็ยังลดลง การเคลื่อนไหวของปลายนิ้วมี
ความสำคัญต่อการพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมากเด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้จะมีความสนใจที่จะใช้เครื่องมือและทำงานที่ละเอียด ดังนั้นควรที่จะนำมารวมเข้ากับการเล่น เมื่อมีการใช้ปลายนิ้ว
สมาธิก็จะดีขึ้นเองตามธรรมชาติ
มาเล่นโดยวิธีและไอเดียต่าง ๆ เช่น การเล่นสติ๊กเกอร์ที่สามารถติดแปะและลอกออกได้ การทำสร้อยคอและเข็มขัดโดยใช้ลูกปัดขนาด
ใหญ่ร้อยเชือก ฉีกกระดาษสีแล้วติดแปะลงบนกระดาษวาดรูป เป็นต้น
เป็นวัยที่ถึงเวลาที่สามารถใช้กรรไกรได้แล้ว เมื่อมีการใช้กรรไกร ต้องมีการอธิบายวิธีการใช้กรรไกรและข้อควรระวังอย่างชัดเจนก่อน
การใช้กรรไกร เราขอแนะนำว่าไม่ควรให้เด็กใช้กรรไกรที่ใช้ตามปกติที่มีอยู่ในบ้าน ควรจัดหากรรไกรที่เหมาะกับขนาดมือของเด็ก
กรรไกรยังคงเป็นเครื่องมือที่อันตรายสำหรับเด็กที่จะใช้เพียงคนเดียวตามลำพัง ผู้ใหญ่ต้องเฝ้าดูการใช้กรรไกรของเด็กอย่าให้คลาดสายตาและระวังอย่าให้ได้รับบาดเจ็บ
หนังสือนิทาน
การอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟังนั้นไม่เพียงแต่เป็นช่วงเวลาที่เพลิดเพลินไปกับโลกแห่งเรื่องราวด้วยกันเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่เด็กรู้สึกว่าได้รับความอบอุ่นจากพ่อแม่และรู้สึกโล่งใจและสบายใจอีกด้วย เด็กจะมีสมาธิกับหนังสือนิทานไม่เกิน 10 หรือ 15 นาที เมื่อเด็กพูดว่า “ขอให้อ่านนิทาน !” ควรหยุดการเตรียมอาหารหรือการทำความสะอาดแล้วมาอ่านหนังสือภาพให้เด็กฟัง
ในช่วงวัยนี้ อาจมีการร้องขอให้อ่านนิทานเล่มเดิมว่า “อ่านอีกครั้ง อ่านอีกครั้ง” ถ้าเด็กอยากให้อ่านเล่มเดิมให้ฟังอีก จะกี่ครั้งก็ตามควรอ่านให้ฟังจนกว่าเด็กจะพอใจ
การอ่านนิทานให้ลูกฟัง สามารถอ่านเวลาไหนก็ได้ แต่ถ้าคุณแม่อ่านเป็นประจำช่วงก่อนนอน ก็จะเป็นการฝึกลูกให้เข้านอนเป็นเวลาได้ เนื่องจากลูกจะรู้ว่าถึงเวลาเล่านิทานแล้ว และนอกจากนี้หากคุณแม่ที่ยังไม่เริ่มฝึกอ่านนิทานให้ลูกฟัง ก็สามารถค่อย ๆ เริ่มฝึกอ่านได้ตั้งแต่วันนี้ไปเรื่อย ๆ ลูกก็จะเริ่มเรียนรู้จากคำศัพท์จากหนังสือนิทานมากขึ้น