พ่อมือใหม่ดูแลลูกน้อย ต้องเริ่มอย่างไร ?

ในปัจจุบันที่คุณแม่มีการทำงานนอกบ้านมากขึ้น และพ่อก็เข้ามามีบทบาทในการดูแลลูกเพิ่มขึ้น
ไม่เพียงแค่แม่เท่านั้น การที่พ่อลาหยุดงานหรือลดชั่วโมงทำงานเพื่อดูแลลูกนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดแล้ว
ดังนั้นคุณพ่อมือใหม่สามารถช่วยคุณแม่ดูแลลูกได้ เริ่มต้นเลย !

ส่งเสริมให้ “พ่อมือใหม่เป็นที่ไว้วางใจได้” มาให้กำลังใจแม่หลังคลอดกันเถอะ

แม่หลังคลอด ยังไม่คุ้นเคยกับการดูแลเด็กและมักจะเหนื่อยล้าและมีความกังวลด้านจิตใจทุกวัน ในช่วงเวลาดังกล่าว หากพ่อปฏิบัติและเป็นกำลังใจต่อแม่อย่างอ่อนโยน แม่ก็สามารถดูแลลูกอย่างมีความสุข จากลักษณะนี้จะมีผลดีต่อพัฒนาการของเด็กและทำให้ชีวิตสมรสมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและสนิทสนม นอกจากการอาบน้ำและเปลี่ยนผ้าอ้อมสำหรับเด็กแล้ว การแบ่งปันงานบ้าน เช่น การเตรียมอาหารและทำความสะอาดจะเป็นการสนับสนุนแม่ด้วยเช่นกัน

เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและลูกให้มั่นคง

โดยพื้นฐานของพัฒนาการของลูก การสร้างความผูกพัน กับพ่อแม่ และการไว้วางใจอย่างสบายใจเป็นสิ่งสำคัญมาก แน่นอนว่า ไม่เพียงแต่ความรักผูกพันกับแม่เท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีกับพ่อด้วย การสร้างความผูกพันในช่วงเวลานี้จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและลูกที่มั่นคงจนกระทั่งเด็กโตขึ้น

การเข้าชั้นเรียนการดูแลเด็กจะมีประสิทธิภาพในการบรรเทาความวิตกกังวลเช่นกัน

สำหรับผู้ที่จะเป็นพ่ออาจมีความกังวลเรื่องการดูแลลูกหลังจากเป็นพ่อ วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือการเข้าร่วมใน “ชั้นเรียนการดูแลเด็ก” ที่สนับสนุนโดยโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพ สถาบันสังคมศึกษา ฯลฯ ในชั้นเรียนการดูแลเด็กจะมีหัวข้อหลากหลาย เช่น การอาบน้ำการฝึกเปลี่ยนผ้าอ้อมโดยฝึกหัดกับตุ๊กตาเด็ก การดูวิดีโอเกี่ยวกับการดูแลเด็ก การปรึกษากับพ่อที่มีประสบการณ์ การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญ และอื่นๆ ทำให้คุณพ่อได้คลายความกังวลไปได้บ้าง

บทบาทของพ่อจะเพิ่มขึ้นไปอีกในช่วงวัยเด็ก
พ่อมีความแข็งแรงและกำลังมาก! จะทำให้เด็กมีความสุขกับการเล่นที่พวกเขาชื่นชอบ

เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น การเล่นที่หลากหลายจะเป็นแหล่งสำคัญอันดับหนึ่งสำหรับการเจริญเติบโต แต่การเล่นบางอย่างอาจมีข้อจำกัด เช่น การเล่นลูกบอล ปีนต้นไม้ และขี่จักรยาน เป็นต้น ซึ่งพ่อต้องมีความถนัดกว่า

บางครั้ง “ระเบียบวินัย” ก็เป็นหน้าที่ของพ่อ เลี้ยงลูกด้วยความใจกว้าง

ต่างจากตอนที่ยังเป็นทารก การสั่งสอนวินัยให้แก่ลูกหลังจากวัยเด็กเล็กเป็นเรื่องยากเพราะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แม้ว่าจะรู้ถึงกฎเกณฑ์ของสังคม แต่เด็กก็ไม่สามารถยับยั้งความต้องการของตัวเองได้ และแม้ว่าจะถูกดุ แต่ก็ยังอยากทำ เป็นช่วงเวลาที่ทั้งพ่อแม่และลูกมักจะหงุดหงิด อย่างไรก็ตาม คุณพ่อก็ต้องคอยสอนลูกด้วยความอ่อนโยนและใจกว้างเสมอ เช่น

  • ยกเว้นสิ่งที่อันตราย ทำให้ใจกว้างและมองข้ามบ้าง ไม่ทำให้เป็นการปิดกั้นความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
  • นิสัยของคนลูกมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ปิดตาในด้านลบและส่งเสริมจุดดีให้มากที่สุด
  • ให้พ่อแม่พูดคุยกันและเตรียมความพร้อมว่าต้องการให้ลูกเติบโตแบบไหนและจะเลี้ยงดูอย่างไร

แน่นอน ระเบียบวินัยจะไม่ได้ผลเพียงแค่พูดด้วยวาจาเท่านั้น การสอนระเบียบวินัยที่ดีวิธีหนึ่งคือการที่พ่อแม่แสดงพฤติกรรมที่ดีตามปกติให้ลูกได้เห็น เช่นเดียวกับคติพจน์ที่ว่า “ไม่ฟังสิ่งที่พ่อแม่พูด แต่เลียนแบบสิ่งที่พ่อแม่ทำ”