คุณพ่อก็ช่วยคุณแม่ชงนมได้นะ
คุณพ่อมือใหม่สามารถช่วยคุณแม่ป้อนนมได้ ช่วยให้เกิดความผูกพันกันมากขึ้น แต่สำหรับการชงนมนั้นอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคุณพ่อมือใหม่ แต่ไม่ต้องกังวลไป เราขอแนะนำนมรูปแบบก้อน สะดวก และไม่ต้องยุ่งยากในการตวงนม ช่วยให้คุณพ่อมือใหม่ชงนมได้ง่าย ๆ ด้วย EZcube
วิธีการชงนม (วิธีการเตรียมนม EZcube)
<เมื่อจะชงนม>
เมื่อต้องดูแลสัมผัสกับเด็ก ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เล็บไม่ควรยาวและควรสร้างนิสัยหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อความสะอาด เพราะหากคุณพ่อเล็บยาว เชื้อโรคอาจติดมาจากตามซอกเล็บ รวมถึงอาจเกิดการขีดข่วนลูกได้เช่นกัน
<เตรียมการชงนม>
ด้วยนมแบบก้อน ทำให้สามารถชงนมได้ง่ายและรวดเร็ว การให้นมเด็กจะมีความถี่บ่อย ดังนั้นเพื่อไม่ให้รีบเร่งเมื่อถึง
เวลาให้นม ให้เตรียมน้ำไว้ 2 แบบ คือ “น้ำร้อนที่ผ่านการต้มจนเดือดแล้ว 1 ครั้งเก็บไว้ในกระติกเก็บความร้อน” และ “น้ำเย็นที่ผ่าน
การต้มจนเดือดแล้ว 1 ครั้งเก็บไว้ในกาต้มน้ำหรือกระติกน้ำที่ฆ่าเชื้อแล้วด้วยน้ำเดือดและไม่มีฟังก์ชั่นเก็บความร้อน
<ขั้นตอนการเตรียมนม>
- หลังจากต้มขวดนมแล้ว ให้เติมน้ำอุ่น (70℃) ลงในขวดนมในระดับ 2 ใน 3 ของปริมาณที่ต้องการ ปิดฝาจุกนมเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมกระเด็น และเขย่าขวดนมให้เป็นวงกลมเพื่อละลาย (ประมาณ 10 วินาที) ในเวลานี้ ให้ระมัดระวังความร้อนลวกจากขวดนม
- เติมน้ำอุ่นหรือน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วจนได้ปริมาณที่ต้องการ ปิดฝาจุกนมอีกครั้งแล้วเขย่าเบาๆ หากนมยังร้อนอยู่ ให้แช่ขวดนมในน้ำเย็น
- อุณหภูมินมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับให้ลูกดื่ม คือ ประมาณ 40°c หยดน้ำนม 1-2 หยดลงบนบริเวณหลังมือเพื่อตรวจสอบความร้อน หากคุณยังรู้สึกร้อนอยู่เล็กน้อย ให้ใช้อุปกรณ์ปรับลดอุณหภูมิน้ำนม ตรวจสอบให้แน่ใจว่านมได้เย็นลงในอุณหภูมิที่เหมาะสมก่อนป้อนนมเด็ก
มาป้อนนมกันเถอะ
- เวลาป้อนนม ให้อุ้มกอดโดยใช้แขนประคองคอเด็กไว้ หากอุ้มเด็กนอนราบเลย ท่าทางของพ่อจะค่อย ๆ โน้มตัวไปข้างหน้า เมื่อเวลา
ผ่านไปนานอาจจะเกิดอาการเจ็บปวดที่เอวและหลังได้ หากยกร่างกายส่วนบนของเด็กสูงขึ้นเล็กน้อยจะทำให้สะดวกสบายด้วยกันทั้งคู่
- เวลาป้อนนมต้องให้ขวดนมอยู่ในแนวตั้ง หากเอียงขวดนมมากไป อากาศจะไหลเข้าทางจุกนมจะทำให้เด็กดูดอากาศเข้าไปด้วย ซึ่งทำให้เด็กบ้วนนมออกมาได้ง่ายในภายหลัง ต้องสังเกตว่าจุกนมต้องมีนมเต็มอยู่เสมอ
- เมื่อป้อนนมเสร็จแล้ว ให้อุ้มเด็กตั้งตรงโดยให้คางของเด็กอยู่ที่ไหล่ และลูบหลังเบา ๆ จากล่างขึ้นบนหรือเคาะเบา ๆ เพื่อให้เด็กเรอ
กระเพาะของเด็กมีรูปร่างเป็น “แจกันคอยาว” ดังนั้นการให้เด็กเรอในท่านอนราบ น้ำนมก็จะออกมาด้วย
ทิ้งนมที่เหลือทุกครั้ง
การชงนมจะทำเมื่อให้นมในแต่ละครั้ง แบคทีเรียชอบอุณหภูมิของนมที่ได้เตรียมไว้ ดังนั้น หากเวลาผ่านไป ห้ามให้นมที่เหลือกับเด็ก
“เพราะเสียดายหรือสิ้นเปลือง” เพราะแบคทีเรียในอากาศสามารถเข้าไปในขวดนม หรือแบคทีเรียในปากของเด็กสามารถไหลย้อนกลับเข้า
ไปในขวดนมได้ ดังนั้นหากลูกดื่มนมไม่หมด ให้ทิ้งนมที่เหลือทุกครั้ง
ฆ่าเชื้อขวดนมใช้แล้ว
- ขั้นแรก ล้างน้ำนมในขวดนมด้วยน้ำไหล
- ใช้แปรงขนาดเล็กขัดถูเบาๆ อย่างระมัดระวังเพื่อกำจัดคราบน้ำนมที่หลงเหลืออยู่ในขวดนม สำหรับจุกนมให้ทำความสะอาดล้างทั้งด้านในและด้านนอก
- ฆ่าเชื้อโดยการต้มในน้ำเดือด ใส่ขวดนม คีมคีบขวดนมและฝาขวดนมลงในหม้อและต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที จากนั้นใส่จุกนมและช้อนตวงที่ห่อด้วยผ้าก๊อซลงต้มในหม้อต่ออีก 3 ~ 5 นาที การต้มแต่ละครั้งจะยุ่งยาก ดังนั้นการต้มฆ่าเชื้ออุปกรณ์รวบรวมสำหรับทั้งวันจะสะดวกกว่า
- ใช้คีมคีบขวดนมหยิบอุปกรณ์ปรับลดอุณหภูมิน้ำนมออก กำจัดคราบหยดน้ำออกให้หมด แล้วเก็บไว้ในกล่องอาหารที่มีฝาปิด
เวลาป้อนนมคือเวลาการสื่อสาร
ระหว่างเวลาที่ป้อนนมเด็ก การสบตาเด็กและพูดคุยกับเด็กอย่างอ่อนโยนเป็นสิ่งสำคัญ เด็กจะตั้งใจฟังเสียงของพ่อ ดังนั้นมาใช้เวลาป้อนนมเด็กให้เป็นช่วงเวลาการสื่อสารที่มีความสุขสนุกสนานระหว่างพ่อแม่และลูกกันเถอะ