“การอุ้มกอด”

พัฒนาการเจริญเติบโตของลูกในด้านน้ำหนัก

ในระหว่างการเลี้ยงดูเด็ก บ่อยครั้งที่แม่มักจะแปลกใจอย่างกะทันหันว่า “โอ้ โตขึ้นอีกแล้วนะ” เนื่องจากน้ำหนักตัวของลูกที่เปลี่ยนแปลงจนแม่รู้สึกได้เมื่ออุ้มกอดลูก

ความคุ้นเคยในการอุ้มกอดลูกที่เติบโตตลอดเวลาตั้งแต่วันแรกเกิดเป็นต้นมานั้น จะเป็นการพัฒนาการทางจิตใจร่วมกันในฐานะการเลี้ยงลูกกับแม่ได้

ครั้งนี้ ขอแนะนำเกี่ยวกับ “การอุ้มกอด” ที่มีประสิทธิภาพที่จะรู้สึกได้ถึงการเจริญเติบโตของลูกพร้อมกับความสุขและเพลิดเพลินในการสัมผัสทางกายหรือสกินชิพ

ก้าวแรกสู่การเป็นพ่อที่ยอดเยี่ยม มาเป็น “ผู้เชี่ยวชาญการอุ้มกอด” กันเถอะ

การอุ้มกอดเป็นโอกาสที่ดีในการสัมผัสทางกายและการสื่อสาร ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของเด็กอีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อลองมาเป็น “ผู้เชี่ยวชาญการอุ้มกอด” กันเถอะ

การอุ้มกอดสามารถแบ่งออกได้หลักๆ คือ “การอุ้มกอดในแนวนอน” และ “การอุ้มกอดในแนวตั้ง” ขอแนะนำให้ “อุ้มกอดในแนวนอน” ไปจนกว่าคอของเด็กแข็งแรงตั้งตรงได้ ซึ่งเมื่ออายุประมาณ 3 ถึง 4 เดือนคอของเด็กจะแข็งแรงตั้งตรงได้ ให้ “อุ้มกอดในแนวตั้ง” ขอแนะนำวิธีการ “อุ้มกอดแนวนอน” และ “อุ้มกอดแนวตั้ง” ดังต่อไปนี้

“การอุ้มกอดในแนวนอน (จนกว่าคอแข็งแรงตั้งตรงได้)”

  1. คุกเข่าลงต่อหน้าทารกที่กำลังนอนอยู่ แล้วสอดฝ่ามือเข้าไปใต้คอ
  2. ประคองบั้นท้ายด้วยมืออีกข้างหนึ่งแล้วยกทารกขึ้น
  3. อุ้มยกทารกไว้บนตักแล้วดึงเข้าหาตัว
  4. ขยับมือที่รองรับคอโดยให้ศีรษะของทารกวางอยู่ด้านในของข้อศอก

“การอุ้มกอดในแนวตั้ง (เมื่อคอแข็งแรงตั้งตรงได้)”

  1. ลดตัวลงและสอดมือทั้งสองข้างเข้ารักแร้ทั้งสองข้างของทารก
  2. พยุงรักแร้พร้อมกับค่อยๆ ยกร่างกายส่วนบนของทารกขึ้น
  3. อุ้มขึ้นแล้ววางทารกในท่านั่งไว้บนตัก
  4. รองรับสะโพกของทารกด้วยแขนข้างหนึ่งและใช้แขนอีกข้างโอบกอดหลังของทารก

ที่มา: “คู่มือการเลี้ยงดูเด็กของคุณพ่อ” (บริษัท Kodansha)

เมื่อพ่ออุ้มกอดด้วยความมั่นใจ เด็กก็จะรู้สึกสบายใจ

หลังจากนั้น ให้โยกเด็กเบาๆ เหมือนโยกเปล หรือเคาะหลังและก้นของเด็กเป็นจังหวะที่ผ่อนคลายและพูดดุยกับเด็กด้วยรอยยิ้ม เวลาที่อุ้มกอดทารกที่คอยังไม่แข็งแรงเป็นครั้งแรก อาจจะมีความรู้สึกเกร็งบ้างเล็กน้อย ขออย่าเป็นกังวลมากเกินไปเพราะคุณจะชินกับการอุ้มกอดได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ขอให้คุณพ่ออุ้มกอดลูกด้วยความมั่นใจและความรัก ลูกก็จะรู้สึกสบายใจ