ความเข้าใจคำ
ลูกในช่วงวัยนี้ยังไม่สามารถถ่ายทอดความคิดของตนออกมาเป็นคำพูดได้เก่งนัก แต่พวกเขาจะค่อย ๆ
เข้าใจถึงสิ่งที่คุณแม่
หรือคุณพ่อกำลังพูด และคอยซึมซับสิ่งต่าง ๆ คล้ายกับฟองน้ำกำลังดูดซับน้ำ
คำพูดจากคนใกล้ตัว เช่น พ่อแม่ ฯลฯ จะสะสมอยู่ในตัว
เด็ก และลูกจะพยายามเชื่อมโยงคำพูดเหล่านั้น
ขอให้คุณพ่อคุณแม่ใช้คำพูดต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ในการสร้างประสบการณ์ต่าง ๆ ให้
กับลูก
อย่าคิดว่า
“เด็กคงไม่เข้าใจในเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่กำลังพูดหรอก”
ขอให้แม่พูดหรือเล่าถึงสิ่งที่ตนเองรู้สึกออกมาเป็นคำพูด
เมื่อคุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกมาก ๆ
ความสนใจ
และความอยากรู้ในคำพูดของลูกก็จะเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณแม่อยากชวนลูก
เล่นประกอบบล็อกไม้
ให้คุณแม่ยื่นบล็อกไม้ให้กับลูกพร้อมกับพูดว่า “เล่นกัน” ในคราวต่อ ๆ ไป ลูกจะพูดเลียนแบบแม่
จะยื่นบล็อกไม้ให้
และลูกจะพูดกับแม่ว่า “เล่น”
การพัฒนาการทางร่างกาย
เมื่อลูกอายุครบ 1 ขวบ จะมีการพัฒนาการของปลายนิ้วที่ดีขึ้น เพราะกล้ามเนื้อมีพัฒนาการมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ลูกจะจับสิ่งของ
ด้วยนิ้วมือทั้งห้าพร้อมกัน แต่ในลูกวัยนี้จะ “จับ” สิ่งของเล็กๆ
ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้ดี มักจะเห็นลูกหยิบก้อนหินก้อนเล็ก ๆ ขึ้นมา นั่ง
และเล่นกับกองทรายในสวนสาธารณะ
และเก็บขยะที่อยู่บนพื้นในบ้านได้
ความสงสัยอยากรู้
นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ความสงสัยอยากรู้เพิ่มขึ้น จะเริ่มซุกซน เช่น รื้อค้นสิ่งของทุกอย่างในลิ้นชัก
หรือกระเป๋าเงินของแม่
ออกมา เวลาที่ลูกซุกซนรื้อข้าวของแม่มักจะหงุดหงิด
แต่แทนที่แม่จะโกรธอย่างขาดสติในเวลานั้น ขอให้คุณแม่ใจเย็นระงับความโกรธ
อย่าใช้วิธีการห้าม
แต่ค่อย ๆ
สอนว่า เช่น “ของชิ้นนี้สำคัญมาก หนูควรรื้ออย่างระมัดระวัง ทำอย่างนี้ไม่ดีของอาจเสียหายได้” หรือ
“ของชิ้นนี้สำคัญถ้าหายหรือพัง คุณแม่จะเสียใจ” เป็นต้น
ระวังการกลืนกินโดยไม่ได้ตั้งใจ
แม้ว่าในเวลาปกติเด็กจะไม่มีน้ำลายไหล แต่เมื่อมีความต้องการมากๆ เด็กบางคนอาจจะมีน้ำลายไหลได้
เนื่องจากเด็กที่มีอายุจน
ถึงประมาณ 2 ขวบ จะจับเอาสิ่งต่าง ๆ ใส่เข้าปากตัวเองบ่อย ๆ
และมีความเสี่ยงสูงที่จะกลืนกินโดยไม่ได้ตั้งใจและทำให้หายใจไม่ออกได้
ดังนั้น
ให้เก็บสิ่งของที่ลูกอาจเผลอกลืนกินเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจให้พ้นจากมือลูกเช่น กระดุม คลิปหนีบกระดาษ ก้นบุหรี่
ของที่มีชิ้นเล็ก
ต่าง ๆ เป็นต้น และต้องระวังที่เก็บผงซักฟอกด้วยเช่นกัน
พัฒนาการด้านภาษา
เป็นช่วงวัยที่เริ่มเข้าใจชื่อของตัวเองทีละน้อย เมื่อคุณแม่ลองเรียกชื่อลูก เช่น น้องนะโม
ลูกจะตอบสนองโดยการหยุดเล่นและหัน
กลับมาพร้อมด้วยรอยยิ้มกว้าง ๆ
ลูกในช่วงวัยนี้จะมีความสุขมากเมื่อเขาถูกเรียกชื่อ นอกจากนี้ลูกเริ่มสามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
มากขึ้น สามารถเข้าใจคำพูดที่ได้ยินบ่อย ๆ ดังนั้น คุณแม่ควรเรียกชื่อลูกบ่อย ๆ กันเถอะ
นอกจากนี้ก่อนหน้านี้เด็กยังออกเสียงเป็นคำ
ที่ไม่มีความหมาย เช่น “อุ เอ อ๊ะ หรือ อัก” เป็นต้น
แต่ถึงเวลาหนึ่ง จะค่อย ๆ พูดคำที่มีความหมาย เช่น “แม่” และ “พ่อ” เป็นต้น การพูด
คุยที่อ่อนโยนของพ่อแม่คือแหล่งที่มาของคำพูดของลูก ดังนั้น มาพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ
รอบตัวเราในชีวิตประจำวันกับลูกให้มาก
ไม่ว่าตอนที่ออกไปเดินเล่น
ก็ขอให้พูดเกี่ยวกับสภาพอากาศและดอกไม้ เป็นต้น เมื่อมีการจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ ที่มากพอ คำพูดของ
เด็กก็จะค่อย ๆ ออกมาทีละน้อย คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักตั้งตารอว่าลูกจะพูดอะไรออกมาเป็นคำแรก
แต่ไม่ว่าจะพูดคำว่า พ่อ ก่อน
หรือจะพูดคำว่า แม่ ก่อนก็ตาม
การที่สามารถพูดออกมาเป็นคำที่มีความหมาย ถือว่า เป็นก้าวแรกของการเติบโตที่ยิ่งใหญ่สำหรับเด็ก
ขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ด้วย